Ads Top

รักษ์โลกกับ พลาสติก ย่อยสลายได้



การรักษาสิ่งแวดล้อมเป็นหน้าที่ของใคร ??

ถ้าไม่ใช่หน้าที่ของพวกเรา !!💗 





" กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รายงานข้อมูลใน พ.ศ.2560 

พบว่า...

ในประเทศไทย มีปริมาณขยะถึง 27 ล้านตัน และเป็นขยะพลาสติก ถึง 2 ล้านตัน

โดยมีการใช้ถุงพลาสติกประมาณ 4.5 หมื่นล้านใบต่อปี "


และเมื่อ เทียบกับข้อมูลของโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ พบว่า...
ในแต่ละปีทั่วโลก มีการใช้ถุงพลาสติกมากถึง 5 แสนล้านใบ
โดยเฉพาะครึ่งหนึ่ง เป็นพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง
(ขยะพลาสติก ปัญหาระดับโลก 2562)

ระยะเวลาในการย่อยสลายของขยะแต่ละชนิด

– เศษกระดาษ 2-5 เดือน
– ถ้วยกระดาษเคลือบ 5 ปี
– กระป๋องอลูมิเนียม 80-100 ปี
– กระป๋องเหล็ก 100 ปี
– ขวดพลาสติก 450 ปี
– ถุงพลาสติก 450 ปี
– ฝาพลาสติก 450 ปี
– หลอดน้ำ 450 ปี
– โฟม ไม่ย่อยสลาย
– ขวดแก้ว ไม่ย่อยสลาย


การจัดการขยะพลาสติกของแต่ละประเทศ 

🔺🔻 1. สาธารณรัฐไอร์แลนด์ 🔺🔻

ตั้งแต่ ค.ศ. 2002 (พ.ศ. 2545) หากผู้บริโภคจะต้องการใช้ถุงพลาสติก จะต้องเป็นผู้จ่ายเงินซื้อถุงพลาสติก จากนโยบายดังกล่าวสามารถลดการใช้ถุงพลาสติกได้ถึงร้อยละ 90 และยังลดปริมาณขยะมูลฝอยได้จำนวนมาก 


🔺🔻2. ราชอาณาจักรเดนมาร์ก🔺🔻 

ตั้งแต่ ค.ศ. 2003 (พ.ศ. 2546) รัฐมีการเก็บภาษีถุงพลาสติกจากผู้ค้าปลีก เพื่อกดดันให้ร้านค้าปลีกต่าง ๆ คิดค่าธรรมเนียมถุงพลาสติกกับลูกค้า และกระตุ้นให้ผู้บริโภคใช้ถุงที่สามารถนำกลับมาใช้ได้ใหม่ (reusable bags) 

จากมาตรการดังกล่าวทำให้สามารถลดการใช้ถุงพลาสติกได้ถึงร้อยละ 66 

นอกจากนี้มีระบบมัดจำค่าขวดพลาสติกเพิ่มจากราคาสินค้า ซึ่งเป็นการกระตุ้นให้ผู้บริโภคนำขวดมาคืนเพื่อรวบรวมเข้าสู่ระบบรีไซเคิล และสามารถรีไซเคิลขวดพลาสติกได้ถึงร้อยละ 90 ของขวดพลาสติกที่รับคืนในระบบ 


🔺🔻3. สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี 🔺🔻

รัฐมีการเก็บภาษีรีไซเคิลจากร้านค้าทุกร้านที่มีถุงพลาสติกให้แก่ลูกค้า รวมถึงมีระบบมัดจำค่าขวดพลาสติกเพื่อกระตุ้นให้ผู้บริโภคส่งคืนขวดเพื่อนำไปรีไซเคิล 

จากมาตรการดังกล่าว ทำให้บริษัทเครื่องดื่มเลือกผลิตขวดที่สามารถใช้ซ้ำออกสู่ตลาด เพื่อช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ได้จำนวนมาก 


🔺🔻4. ราชอาณาจักรสวีเดน 🔺🔻

ประเทศที่ประสบความสำเร็จในการรีไซเคิล โดยสามารถนำขยะมาใช้ใหม่ (reuse) ได้เกือบทั้งหมด มีเพียงร้อยละ 4 ที่ไม่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้

นอกจากนี้ยังมีโครงการ แปรรูปขยะเป็นพลังงานไฟฟ้า ซึ่งสามารถผลิตไฟฟ้าใช้ภายในประเทศได้ถึง 810,000 ครัวเรือน 

โครงการดังกล่าวทำให้ขาดแคลนขยะในการแปรรูปเป็นพลังงานไฟฟ้า ราชอาณาจักรสวีเดนจึงต้องรับซื้อขยะ จากประเทศต่าง ๆ 

รวมถึงประชาชนให้ความร่วมมือและมีวินัยในการจัดเก็บและคัดแยกขยะ พร้อมทั้ง มีระบบมัดจำค่าขวดพลาสติกที่เรียกเก็บจากผู้บริโภค 

จากมาตรการดังกล่าวทำให้สามารถรีไซเคิล ขวดพลาสติกได้ถึงร้อยละ 90 ของขวดพลาสติกทั้งหมด และปัจจุบันมีการกำกับดูแลเรื่องการใช้ถุงพลาสติก โดยกำหนดให้ผู้ผลิตและผู้บริโภครายงานปริมาณการผลิตและใช้ถุงพลาสติกต่อสำนักงานคุ้มครองสิ่งแวดล้อม (Swedish EnvironmentalProtection Agency) 

และราชอาณาจักรสวีเดนกำลังเริ่มระบบมัดจำถุงพลาสติก 0.5 โครนาสวีเดน (1.86 บาทต่อใบ) 

โดยเมื่อผู้บริโภคนำถุงมาคืนจะได้รับเงินมัดจำคืน เพื่อป้องกันการทิ้ง ถุงพลาสติกโดยไม่จำเป็น 


🔺🔻5. สหรัฐอเมริกา 🔺🔻

สหรัฐอเมริกายังไม่มีการห้ามหรือเรียกเก็บภาษีถุงขยะพลาสติกทั่วประเทศ แต่มีมาตรการดังกล่าว เป็นบางรัฐเท่านั้น ได้แก่ ออสตินและบราวน์สวิลล์ รัฐเท็กซัส, บอสตัน รัฐแมสซาชูเซตส์, ชิคาโก รัฐอิลลินอยส์, ลอสแอนเจลิสและซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย, ซีแอตเทิล รัฐวอชิงตัน, โบลเดอร์ รัฐโคโลราโด, มอนต์กอเมอรี รัฐแมริแลนด์, นิวยอร์ก รัฐนิวยอร์ก, พอร์ตแลนด์ รัฐเมน และวอชิงตันดีซี 

ใน ค.ศ. 2007 (พ.ศ. 2550) ซานฟรานซิสโกเป็นเมืองแรกของสหรัฐอเมริกาที่มีการห้ามใช้ถุงพลาสติก เด็ดขาด ซึ่งนโยบายดังกล่าวมีการผลักดันให้ประชาชนใช้ถุงที่สามารถใช้ซ้ำได้ โดยการวางขายถุงกระดาษ ที่สามารถย่อยสลายได้ไว้ที่จุดแคชเชียร์ 

จากนโยบายดังกล่าวทำให้สามารถลดมลพิษจากถุงพลาสติกได้ถึง ร้อยละ 72 และวอชิงตันดีซีมีการเก็บภาษีถุงพลาสติก โดยภาษีที่เก็บได้ถูกนำเข้ากองทุนเพื่อการอนุรักษ์ สิ่งแวดล้อม (The Anacostia River Clean Up and Protection Fund) ตั้งแต่ ค.ศ. 2009 (พ.ศ. 2552) ทั้งนี้ นโยบายดังกล่าวสามารถลดการใช้ถุงพลาสติกได้ถึงร้อยละ 85 


🔺🔻6. ประเทศญี่ปุ่น 🔺🔻

ประเทศญี่ปุ่นเป็นหนึ่งในประเทศที่ผลิตขยะพลาสติกต่อคนจำนวนมากที่สุดรองจากสหรัฐอเมริกา 

ดังนั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสิ่งแวดล้อม เตรียมเสนอคณะรัฐมนตรีนำกฎหมายห้ามแจกถุงพลาสติกในร้านค้าปลีก 

โดยวางแผนที่จะบังคับให้เรียกเก็บเงินจากถุงพลาสติกในร้านสะดวกซื้อ ร้านขายยา และ ห้างสรรพสินค้า 

เนื่องจากประเทศญี่ปุ่นต้องการที่จะต่อสู้กับมลพิษทางทะเลจากขยะพลาสติก โดยให้แต่ละร้านค้า เป็นผู้กำหนด และคาดว่าจะไม่เกิน 10 เยนต่อถุง 

ทั้งนี้ กระทรวงสิ่งแวดล้อมจะขอให้ผู้ค้าปลีกนำรายได้จาก การเรียกเก็บเงินจากถุงพลาสติกมาช่วยมาตรการด้านสิ่งแวดล้อม รวมถึงการปลูกป่าและการเผยแพร่ความรู้ เกี่ยวกับมลพิษทางทะเล (“ญี่ปุ่นเตรียมห้ามร้านค้าให้ “ถุงพลาสติกฟรี” อยากได้ต้องจ่ายเงิน หวังต่อสู้กับ มลพิษทางทะเล,” 2562) 


จากข้อมูลของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รายงานว่า ปัจจุบันประเทศไทยใช้พลาสติกภายในประเทศจำนวนมากโดยในช่วง 10 ปี ที่ผ่านมามีขยะพลาสติก เกิดขึ้นประมาณปีละ 2 ล้านตัน 

แต่กลับไปใช้ประโยชน์ประมาณปีละ 0.5 ล้านตัน ส่วนที่เหลือ 1.5 ล้านตัน ส่วนใหญ่เป็นเศษขยะถุงพลาสติกที่ปนเปื้อน เช่น ถุงร้อน ถุงเย็นบรรจุอาหาร ถุงหูหิ้ว เป็นต้น 



💥ขั้นตอนแผนปฏิบัติการด้านจัดการขยะพลาสติก 
พ.ศ. 2561-2573 ของประเทศไทย 💥

↬ 1. พ.ศ. 2562 ยกเลิกการใช้พลาสติก จำนวน 3 ชนิด ได้แก่ 

1) พลาสติกหุ้มฝาขวดน้ำดื่ม 
2) พลาสติกผสมสารอ๊อกโซ่ ได้แก่ สารที่มีส่วนผสมของพืชและมีน้ำมันปิโตรเคมีในกระบวนการผลิตไมโครบีด (Microbead)  
3) พลาสติกประเภทสารโพเอทิลีน ขนาดเล็กกว่า 5 มิลลิเมตรหรือเล็กกว่าเม็ดทราย ซึ่งกำจัดได้ยาก 

↬ 2. พ.ศ. 2565 ยกเลิกการใช้พลาสติก จำนวน 4 ชนิด ได้แก่

1) พลาสติกประเภทหูหิ้ว ขนาดความหนา 36 ไมครอน 
2) กล่องโฟมบรรจุอาหาร 
3) แก้วพลาสติก 
4) หลอดดูดพลาสติก ยกเว้นในกรณีที่จำเป็นสำหรับผู้สูงอายุ ผู้ป่วย และเด็ก

↬ 3. พ.ศ. 2570 การนำขยะพลาสติกเป้าหมายกลับมาใช้ประโยชน์ ร้อยละ 100 







บริษัท จูโค เคมิคัล อินดัสตรีส์ ลิมิเต็ด ได้วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2528 

ผลิตภัณฑ์เรา 
ภายใต้แบรนด์ “Amity ™” ได้รับการรับรองจากหน่วยงานของประเทศญี่ปุ่นว่า

เป็นพลาสติกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยเป็น “ผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ย่อยสลายได้” และ ”ผลิตภัณฑ์พลาสติกชีวมวล” จึงไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม และสามารถฝังกลบและย่อยสลายเป็นปุ๋ยได้ในเวลาอันสั้น จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการลดขยะพลาสติกที่ย่อยสลายได้ยาก เป็นการช่วยกันรักษาสิ่งแวดล้อมและโลกของเราให้สวยงามต่อไป  



รูป แสดงถุงพลาสติกจูโค เมื่อนำไปฝังแล้วสามารถย่อยสลายได้เองใน 20 วัน

รายละเอียดเพิ่มเติม พลาสติกย่อยสลายได้ https://www.chukoh.com/thai/products/eco-
products/biodegradation/ 

No comments:

Powered by Blogger.