Ads Top

Roy J. Plunkett ผู้ค้บพบ เทฟลอน ( PTFE)


ใครว่าโลกนี้ไม่มี ความบังเอิญ 








อย่างที่ได้กล่าวมาก่อนหน้านี้แล้วว่า เทฟลอนคือเครื่องหมายการค้าของสารที่เรียกว่า PTFE  ซึ่งตอนนี้อยู่ในความดูแลของบริษัทเคมัวร์ 

และ PTFEที่ว่านี้ก็คือหนึ่งในสารชูโรงของฟลูออโรพลาสติก (ฟลูออโรโพลิเมอร์สังเคราะห์)  

ซึ่งฟลูออโรพลาสติกก็คือ สารพลาสติกที่มีอะตอมของฟลูออรีน เป็นพลาสติกชนิดพิเศษหรือที่เรียกว่า พลาสติกวิศวกรรม

ทีนี้ผู้ซึ่งค้นพบสารนี้ขึ้นมาคือ นักเคมี ที่ชื่อ Roy J. Plunkett   

ดร. รอย พลันเค็ต  เกิดเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 1910 ที่รัฐโอไฮโอ สหรัฐอเมริกา
พลันเค็ตเข้าเรียนปริญญาตรีที่วิทยาลัยแมนเชสเตอร์( ปัจจุบันคือมหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์) ในแคมปัสอินดีแอนาซึ่งอยู่ตอนกลางของอเมริกา ซึ่งเป็นที่เดียวกับ พอล ฟลอรี (Paul Flory) ผู้ซึ่ง ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมี ในปี 1974 โดยเป็นผู้นำในการริเริ่มให้เข้าใจถึงพฤติกรรมของโพลิเมอร์ หรือมาโครโมเลกุล


หลังจากที่เขาจบปริญญาตรีในปี 1932 เขาก็ได้ศึกษาต่อที่ มหาวิทยาลัยโอไฮโอ และจบการศึกษาปริญญาเอก ในปี 1936 และเข้าทำงานกับบริษัท ดูปองท์ เป็นที่แรก และที่เดียวตลอดชีวิตการทำงานของเขา


งานแรกที่เขาได้รับมอบหมายให้ทำคือการวิจัยหา สารทำความเย็น ที่ไม่เป็นพิษ ไม่ติดไฟ  สำหรับใช้ในตู้เย็น ทดแทนสารทำความเย็นที่ใช้อยู่ตอนนั้น คือ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2)และแอมโมเนีย (NH3) ซึ่งเป็นพิษต่อคนงานในอุตสาหกรรมอาหาร และคนในบ้านทั่วๆไป 


พลันเค็ตได้ผลิตก๊าซ tetrafluoroethyleneหรือ TFE (C2F4 ) ซึ่งเป็นก๊าซที่ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น เก็บไว้ในกระบอกสูบขนาดเล็ก (ขนาดประมาณกระบอกข้าวหลาม) ที่อุณหภูมิ dry ice หรือ −78.5 °C   ก่อนที่จะเอามาทำปฎิกิริยาเพื่อทำสาร CFC ( Chlorofluorocarbon ) แบบใหม่

- สาร CFC คือสารประกอบที่เกิดจาก คลอรีน (Cl) ฟลูออรีน (F) และคาร์บอน (C) ค้นพบในปี 1928 โดย Thomas Midgley Jr. จากบริษัท ดูปองท์ โดยมีชื่อการค้าว่า ฟรีออน  ซึ่งตอนนั้นยังไม่มีใครรู้ว่า สาร CFC ได้ทำลายบรรยากาศชั้นโอโซนของโลก กว่าจะรู้ก็ในปี 1987 ที่มีการลงนามลดใช้สาร CFC



จนในวันที่ 6 เมษายน 1938 เมื่อเขาและผู้ช่วยตั้งใจจะเอาก๊าซที่เก็บไว้ในกระบอกสูบออกมาใช้ เขากลับพบว่า ไม่มีก๊าซออกมาจากกระบอกสูบ แต่น้ำหนักของกระบอกสูบยังเท่าเดิม ด้วยความสงสัยตามสไตล์นักวิทยาศาสตร์ เขาจึงผ่ากระบอกออกมาดูและพบว่ามีผงสีขาวอยู่ข้างใน


เขาสนใจในคุณสมบัติของสารที่เขาค้นพบเป็นอย่างมาก เนื่องจากสารนี้ทนความร้อน ทนความเย็น ทนสารเคมี มีแรงเสียดทานที่ผิวต่ำ มีความลื่นทำให้สารอื่นไม่เกาะติด


หลังจากที่เขาค้นพบสาร PTFE  เขาก็ได้ส่งการค้นพบนี้ไปให้ทีมผู้เชี่ยวชาญทำการวิจัยต่อไป
ส่วนตัวพลันเค็ตเอง ก็ได้เลื่อนไปทำในส่วน Tetraethyl lead ที่เป็นส่วนของโซนน้ำมันเครื่องยนต์แทน


พลันเค็ตเกษียณอายุ ในปี 1975 จากการทำงานที่ยาวนาน เกือบ 40 ปี ที่ดูปองท์  นอกจากสาร PTFE  ที่เขาค้นพบ เขายังมีส่วนร่วมในการพัฒนาน้ำมันตะกั่ว และฟรีออน

พลันเค็ตเสียชีวิตลงในวันที่ 12 พฤษภาคม 1994 รวมอายุได้ 84 ปี



"แต่อย่างไรก็ตาม นอกจากความบังเอิญแล้ว ความช่างสงสัยช่างคิดในแบบนักวิทยาศาสตร์ของพลันเค็ตก็เป็นส่วนหนึ่ง ให้ สาร PTFE หรือเทฟลอน ถือกำเนิดและเป็นที่รู้จัก สร้างประโยชน์ให้กับผู้คนจนมาถึงวันนี้ใช่หรือไม่"


http://www.ohiohistorycentral.org/w/Roy_J._Plunkett
https://www.sciencehistory.org/historical-profile/roy-j-plunkett
https://en.wikipedia.org/wiki/Thomas_Midgley_Jr.

No comments:

Powered by Blogger.